วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด การป้องกันและรักษา



                
อากาศ เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองกับสิ่งที่เราแพ้แล้วทำให้เกิด อาการภูมิแพ้ได้รุนแรงมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอากาศร้อนหรืออากาศเย็น อุณหภูมิที่ต่ำหรือสูงกว่าปกติจะไปกระตุ้นให้อาการโรคภูมิแพ้กำเริบมากยิ่งขึ้น
ไม่เฉพาะโรคภูมิแพ้เท่านั้นที่พบบ่อยหรือกำเริบรุนแรงมากขึ้นเมื่อ อากาศเปลี่ยนแปลง แต่ยังพบโรคหืด โรคไข้หวัด และโรคผิวหนังแห้งแตกได้บ่อยขึ้นหรือรุนแรง มากขึ้นเมื่ออากาศเปลี่ยนแปลงดังนั้น เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว จึงพบโรคภูมิแพ้ในโพรงจมูก โรคหืด ไข้หวัด และโรคผิวหนังอักเสบแห้งแตกได้บ่อยและรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่ออากาศมีการเปลี่ยนแปลง
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ควรปฏิบัติตัวดังนี้
ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ในโพรงจมูก โรคหืด ไข้หวัด และโรคผิวหนังอักเสบควรรักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยการสวมใส่เสื้อผ้าให้เหมาะสมกับฤดูกาล เพื่อช่วยไม่ให้อากาศหนาวเย็นหรืออุณหภูมิต่ำมากระทบกับร่างกายเรา พร้อมทั้งรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ในสภาวะปกติ
นอกจากนี้ ควรรักษาสุขภาพให้มีความสมบูรณ์และแข็งแรงอยู่เสมอ
 1.ด้านการพักผ่อนให้เพียงพอ ควรจะพักผ่อนวันละอย่างน้อย ๖_๘ ชั่วโมง ไม่นอนดึกจนเกินไปหรืออดนอน ในกรณีที่นอนดึก ก็ไม่ควรตื่นนอนแต่เช้า ควรนอนต่อเป็นระยะเวลาที่นานเพียงพอ โดยอาจจะตื่นนอนสายหน่อย เพื่อให้เกิดการพักผ่อนที่เพียงพอ
2.ด้านการกินอาหาร ควรเลือกกินอาหารทั้งชนิดและปริมาณอาหารที่เพียงพอเหมาะสมกับร่างกายไม่มากหรือน้อยจนเกินไป เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้พลังงานและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายในแต่ละวัน และถูกสุขอนามัยที่ดีต่อร่างกาย
3.ด้านการออกกำลังกาย ควรออกกำลังให้เหมาะสมกับวัยและอย่างสม่ำเสมอ จะเป็นการวิ่ง การเดิน หรือการทำงานในกิจวัตรประจำวันที่ออกเหงื่อก็ได้ เช่น การกวาดบ้าน ล้างรถ เป็นต้น ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยครั้งละประมาณ ๓๐ นาที หรือครึ่งชั่วโมง สัปดาห์ละ ๓ ครั้ง ถ้าออกกำลังกายได้นานหรือบ่อยกว่านี้ได้ก็จะยิ่งดีซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพทั้งทางร่างกาย (ซึ่งรวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน) และจิตใจ การออกกำลังกายนอกจากจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยลดความเครียดให้แก่จิตใจได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
4.ด้านรักษาสภาวะจิตใจให้สดชื่นแจ่มใสร่าเริงอยู่เสมอ ไม่เคร่งเครียด หรือเศร้าหมอง ซึ่งมีกลวิธีต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การออกกำลังกาย เล่นโยคะ นั่งสมาธิ เดินจงกรม การฟังเพลง และการพักผ่อนนอกสถานที่ เป็นต้น ทั้งนี้เพราะเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางแล้วว่า ความเครียดที่มากและนานเกินไปส่งผลเสียอย่างมหาศาลต่อร่างกายและจิตใจ ซึ่งรวมถึงประสิทธิภาพการทำงานของภูมิต้านทานของเราด้วย

ดังนั้น การรักษาสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญ ที่สุด ตามประเด็นต่างๆ ที่ได้กล่าวไปแล้วนี้จะช่วยส่งเสริม สุขภาพให้แข็งแรงสมบูรณ์ และจะช่วยป้องกันต้านทานมลพิษ สารก่อภูมิแพ้ หรือจุลชีพจากภายนอก เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของร่างกาย ซึ่งรวมถึงระบบ ภูมิคุ้มกันของเราให้สมบูรณ์พร้อมต่อการเผชิญของการเปลี่ยนแปลงอากาศทั้ง หนาว เย็น และแห้งในฤดูหนาว

             
ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ให้ตัวเรา และคนในบ้านเป็นโรคหอบหืดได้แก่
1.ไม่ควรสูบบุหรี่
2.ว่าที่คุณแม่ไม่ควรสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ (ท้อง) เนื่องจากจะทำให้คุณลูกเสี่ยงต่อการเป็นหอบหืดมากขึ้นด้วย สมรรถภาพปอดก็ลดลงด้วย
3.สารระคายเคืองในที่ทำงาน โดยเฉพาะที่ทำงานที่ติดแอร์แล้วไม่ล้างไส้กรองเลย และการระบายอากาศก็ไม่ดีอีกต่างหาก หรือมีเชื้อรา
4.ไรฝุ่น โดยเฉพาะหมอน ที่นอน หรือฟูกเก่านานเกิน 2 ปี (ควรเปลี่ยน)
5.แมลงสาบ... การศึกษาหนึ่งรายงานพบว่า เด็กๆ ในบ้านที่มีมูล (ขี้) แมลงสาบเสี่ยงหอบหืดเพิ่ม 4 เท่า
6.การติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ฯลฯ มีส่วนทำให้อาการหอบกำเริบเกิน 50%      ในผู้ใหญ่ วิธีป้องกันที่ดีคือ การล้างมือด้วยสบู่ หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ การไม่เข้าไปในที่ที่มีการระบายอากาศ ไม่ดี โดยเฉพาะห้องแอร์ที่มีคนอยู่มากๆ ฯลฯ
 7.ไม่ควรเลี้ยง สัตว์เลี้ยงภายในบ้าน เช่น แมว สุนัข เป็นต้น
 8.ควรดูแลรักษาที่อยู่อาศัยให้สะอาดอยู่เสมอ

 

การดูแลรักษาโรคภูมิแพ้มีหลักการใหญ่ๆ 3 ด้าน ดังนี้
1. การค้นหาสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
2. การใช้ยารักษา
3. การรักษาด้วยวัคซีนสารก่อภูมิแพ้
1. การค้นหาสารก่อภูมิแพ้โรค หรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
เมื่อ รักษาร่างกายให้แข็งแรงแล้ว ควรค้นหาสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งถ้าพบว่า แพ้สารก่อภูมิแพ้ใด และสามารถหลีกเลี่ยงได้ ก็จะปลอดภัยจากอาการแพ้ ไม่มีอาการแพ้อีกเลย
สารก่อภูมิแพ้ที่พบได้บ่อยในประเทศไทยคือ ฝุ่น ไรฝุ่น แมลงสาบ เชื้อรา และเกสรดอกไม้ ซึ่งแตกต่างกับในประเทศตะวันตกที่พบ การแพ้เกสรดอกไม้ได้บ่อยกว่า
2. การใช้ยารักษา
ใน กรณีที่จำเป็นต้องใช้ยา เช่น หาสาเหตุและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ไม่ได้ ยาที่ใช้เพื่อควบคุมอาการแพ้ แบ่งได้เป็น ๒ กลุ่มใหญ่ คือ ยาต้านฮิสตามีน และยาสเตรียรอยด์
ยาต้านฮิสตามีน ที่เป็นที่รู้จักกัน คือ คลอร์เฟ-นิรามีน หรือเรียกอีกอย่างว่า cpmหรือไฮดรอกไซซีน ยาทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นยาที่ใช้ได้ผลดีในการรักษาโรคภูมิแพ้ และราคาย่อมเยา แต่มีข้อเสียคือทำให้ง่วง ปากแห้ง คอแห้ง และหิวน้ำบ่อย ในรายที่ต้องทำงานที่เสี่ยงอันตราย เช่น ขับรถ ทำงานเครื่องจักร ทำงานในที่สูง เป็นต้น ก็ควรหลีกเลี่ยงยาชนิดนี้ โดยไปใช้ยาในกลุ่มใหม่ เช่น ลอราทาดีน  เซทิริซีน  เฟกโซเฟนาดีน เป็นต้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดอาการ ง่วงนอนได้น้อยกว่า ทั้งยังออกฤทธิ์ได้นาน จึงใช้เพียงวันละ ๑-๒ครั้ง ก็เพียงพอต่อการออกฤทธิ์ของยาทั้งวัน
ยาคอร์ติโคสตีรอยด์ ยาชนิดนี้บางครั้งเรียกสั้นๆ ว่า สเตรียรอยด์มีทั้งชนิดฉีด ชนิดเม็ด ชนิดพ่นจมูก ชนิดสูดเข้าปอด ชนิดครีมทาผิวหนัง เป็นต้น เป็นยาที่ได้ผลดีในการรักษา แต่เมื่อมีการใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำให้เกิดผลเสียอย่างรุนแรงต่อร่างกายได้ โดยเฉพาะชนิดฉีดและชนิดเม็ด เมื่อมีการใช้นานๆ จะไปกดการทำงานของไตและระบบภูมิคุ้มกันอื่นๆ ทำให้ร่างกายมีการสะสมของน้ำเป็นปริมาณมาก ทำให้ตัวบวมน้ำ ความดันเลือดสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย มีผลทำให้น้ำตาลในเลือดสูง เป็นต้น ในทางการแพทย์จึงไม่ใช้ยาสเตรียรอยด์ในกรณีทั่วไป จะเก็บไว้ใช้ในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
ส่วน ยาสเตรียรอยด์ในรูปแบบชนิดพ่นจมูก ชนิดสูดเข้าปอด และชนิดครีมทาผิวหนังเป็นรูปแบบที่ได้ผลดีโดยที่ยา ไปออกฤทธิ์ ณ จุดออกฤทธิ์ของยาได้เลย ซึ่งอาจมีการดูดซึมเข้ากระแสเลือดไปออกฤทธิ์ทั่วร่างกายเหมือนยาฉีดและ ยาเม็ด แต่ถูกดูดซึมได้ในปริมาณที่น้อยมาก จึงใช้ ได้อย่างปลอดภัย (ยกเว้นยาสเตรียรอยด์ ซึ่งถ้ามีการใช้ติดต่อกันนาน ก็อาจทำให้เกิดผลเสียต่อผิวหนังได้)
3. การรักษาด้วยวัคซีนสารก่อภูมิแพ้
การ รักษาด้วยวัคซีนสารก่อภูมิแพ้ เป็นอีกทางเลือก หนึ่งของผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ แต่นิยมเป็นทางเลือกสุดท้าย เมื่อใช้วิธีการรักษาทั้ง ๒ วิธีแรกแล้วไม่ได้ผล หรือในราย ที่มีอาการรุนแรงมาก โดยการทดสอบหาสารก่อภูมิแพ้ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในข้อแรก เมื่อพบสารนี้แล้วก็ค่อยๆ ฉีดสารก่อภูมิแพ้นี้ครั้งละน้อย และค่อยๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นๆ เรื่อยๆ ในระดับที่ผู้ป่วยสามารถทนได้และสร้าง ภูมิคุ้มกันต่อสารนี้ได้เป็นอย่างดี จนถึงระดับหนึ่ง ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เวลามากกว่า ๖ เดือน จึงจะมีภูมิคุ้มกันที่เพียงพอที่จะต่อต้านสารที่ก่อภูมิแพ้ในธรรมชาติได้
ข้อเสนอแนะ
ผู้ป่วยอาจใช้อาหารเสริมเพื่อช่วยในการรักษาอาการภูมิแพ้เพราะอาหารเสริมช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของโรคได้
เช่น วิตามินซี 1000mg Acerola cherry1000mg  เป็นต้น



วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคปอดอักเสบหรือปอดบวมในเด็ก (Childhood pneumonia)


โรคร้ายอาจเกิดกับลูกคุณ

                         
โรคปอดบวมเป็นโรคที่สำคัญมากในกลุ่มอาการไข้หวัดและปอดบวม เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจชนิดรุนแรงคืออาการอักเสบ ที่เกิดขึ้นบริเวณเนื้อปอด หลอดลม ถุงลมต่างๆ และสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี เสียชีวิตได้มาก โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กที่เกิดมามีน้ำหนักตัวน้อย เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เด็กขาดอาหารหรือเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด โรค ปอดอักเสบในเด็ก (childhood pneumonia) เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรง บางครั้งอาจทำให้เกิดความพิการ หรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้จากโรคเรื้อรังทางปอด หรือโรคหลอดลมโป่งพอง จากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่า โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุของการตายเป็นอันดับหนึ่งในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ในแต่ละปีจะมีเด็กทั่วโลกที่เสียชีวิตจากปอดอักเสบปีละ 2.4 ล้านคน
สาเหตุของการเกิดโรค
       สาเหตุของโรคนี้ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือทั้งเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรียร่วมกัน ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อรา พยาธิหรืออาจเกิดจากการแพ้หรือการระคายเคืองต่อสารที่สูดดมเข้าไป
 •     จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลกพบว่า เชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดปอดอักเสบในเด็กในประเทศกำลังพัฒนา ได้แก่ เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) และ เชื้อฮิบ (Hib) ส่วนเชื้อไวรัสส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ respiratory syncytial virus (RSV) ซึ่งในแต่ละประเทศอาจมีความแตกต่างกัน
 •       ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็กส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
 •     มักเกิดจากการสัมผัสละอองของน้ำมูก น้ำลายหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อ ส่วนใหญ่แล้วยังไม่มียาต้านไวรัส   ยกเว้นไวรัสไข้หวัดใหญ่ร่างกายกำจัดเชื้อไวรัสโดยสร้างภูมิต้านทานมาทำลายเชื้อไวรัส ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง อาจดีขึ้นได้เอง และมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ
•       ส่วนผู้ป่วยโรคปอดอักเสบในเด็กที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียนั้น  พบว่าเกิดจากการติดเชื้อนิวโมคอคคัสมากที่สุด  เพราะเชื้อแบคทีเรียนี้อาจพบอยู่ในเยื่อบุโพรงจมูก  ลำคอของคนเรา  เมื่อร่างกายอ่อนแอหรือเยื่อบุดังกล่าวถูกทำลาย  เชื้อนิวโมคอคคัสก็จะหลุดเข้าสู่ร่างกาย หรืออาจเกิดจากการสูดสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอเข้าไปในหลอดลมส่วน ปลายหรือถุงลมปอด ถ้าจำนวนเชื้อที่สูดสำลักเข้าไปที่ถุงลมมมากเกินกว่าร่างกายจะกำจัดออกได้ เชื้อเหล่านี้จะแบ่งตัวและก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมา ทำให้เนื้อปอดถูกทำลาย การแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงทำให้ผู้ป่วยขาดออกซิเจนได้

 •       เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี เช่น การสูดหายใจเข้าไป การสำลัก การกระจายของเชื้อตามกระแสเลือดไปสู่ปอด
 •       ใน ภาวะปกติระบบหายใจในร่างกายจะมีกลไกในการป้องกันไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมหรือ เชื้อโรคเข้าสู่หลอดลมหรือถุงลมปอดโดยร่างกายมีจมูกเป็นอวัยวะในการกรอง เชื้อโรค และฝุ่นละอองไม่ให้เข้าสู่ปอดและขับสิ่งต่างๆ ออกจากร่างกายโดยการไอ นอกจากนี้ในถุงลมปอดยังมีกลวิธีในการกำจัดเชื้อหลายอย่าง เช่น เชื้ออาจถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยมีเม็ดเลือดขาวมากินเชื้อโรคหรือมีระบบ ภูมิคุ้มกันมาทำลายเชื้อโรค เมื่อความสมดุลระหว่างเชื้อก่อโรคและกลไกในการป้องกันเชื้อโรคของระบบหายใจ เสียไป ผู้ป่วยก็มีโอกาสเกิดโรคปอดอักเสบได้
 •       ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เชื้อลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ สมองและกระแสเลือด เป็นต้น ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตสูงขึ้น

           


  ความรุนแรงของโรคปอดบวม

          เกิด ได้จากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งเป็นเชื้อที่ร่างกายสามารถกำจัดออกได้ แต่หากเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดที่รุนแรง อาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลวหรือเสียชีวิตได้ ซึ่งพบว่า เชื้อนิวโมคอคคัสเป็นชื่อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุใหญ่ ทำให้เกิดโรคปอดบวมและโรคติดเชื้อรุนแรง เช่นการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบน ทำให้เกิดหูน้ำหนวก ไซนัสอักเสบ หากลุกลามเข้าสู่กระแสเลือด เยื่อหุ้มสมอง ก็ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นกลุ่มโรคติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดรุนแรงหรือที่เรียกว่าไอพีดี

อาการ
ในระยะเริ่มแรก จะมีอาการไข้ ไอมีเสมหะ และหอบเหนื่อย
อาการของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละรายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วยและความรุนแรงของโรค
โดย ทั่วไปในผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสจะมีอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ ทางเดินหายใจส่วนต้นนำมาก่อน เช่น ไข้ น้ำมูก ไหล ไอ หลังจากนั้นผู้ป่วยจะค่อยๆ เริ่มมีอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว จมูกบาน ซี่โครงบาน และตัวเขียวได้
ผู้ป่วยที่มีปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียมักจะมีอาการที่เกิดขึ้นเฉียบพลันดูป่วยหนักไอมาก และมีอาการเจ็บหน้าอกร่วมด้วยได้
อาการ ที่ไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ร้องกวนและงอแง ผู้ป่วยบางรายจะมีหนาวสั่นได้ ในเด็กทารกอาการแสดงของโรคปอดอักเสบส่วนมากจะไม่มีลักษณะเฉพาะ ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาจมีอาการซึม อาเจียน และไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ

การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบในเด็ก
       จากการซักถามประวัติอาการ การตรวจร่างกาย และการตรวจระบบทางเดินหายใจ
       องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ใช้อัตราการหายใจเป็นการประเมินผู้ป่วยที่มีประวัติไข้และไอเป็นอาการนำ   อัตรา การหายใจเป็นตัวอาการบ่งชี้ที่มีความไวและมีความจำเพาะที่ดีที่สุดในการให้ การวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นปอดอักเสบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี
       อัตราการหายใจที่ผิดปกติในกลุ่มอายุต่างๆ ในเด็กมีดังต่อไปนี้
       อายุแรกเกิดถึง 2 เดือน      อัตราการหายใจไม่ควรเกิน   60 ครั้ง/นาที
       อายุ 2 เดือนถึง 12 เดือน   อัตราการหายใจไม่ควรเกิน   50 ครั้ง/นาที
       อายุ 12 เดือน ถึง 5 ปี        อัตราการหายใจไม่ควรเกิน  40 ครั้ง/นาที
การรักษา
หลักการรักษาโรคปอดอักเสบในเด็กขึ้นกับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค
ผู้ ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปีมักได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล ทั้งนี้ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ ความรุนแรงของภาวะขาดน้ำ ภาวะพร่องออกซิเจน และยังอาจพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดได้
ผู้ป่วย ปอดอักเสบและมีอาการไม่รุนแรงมาก เช่น มีไข้ ไอ และหายใจ เร็วไม่มากนัก แพทย์อาจจะให้การรักษาให้ยาปฏิชีวนะรับประทาน (ในกรณีที่สงสัยว่าปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย) และนัดผู้ป่วยมาดูเป็นระยะๆ ได้
ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหนักต้องรับไว้ในโรงพยาบาล ได้แก่
อายุน้อยกว่า 6 เดือน
หอบมาก ต้องการออกซิเจน
คลื่นไส้อาเจียน
กินยาแล้วไม่ได้ผล
ภูมิคุ้มกันต่ำ
พ่อแม่ไม่น่าไว้วางใจว่าจะดูแลเด็กได้ดีพอหรือไม่
ยาปฏิชีวนะ

เด็กที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดอักเสบหรือปอดบวมได้แก่
น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม
เด็กที่มีโรคเรื้อรังเช่นโรคหัวใจ โรคปอด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง และโรคทางสมอง
ภาวะโภชนาการไม่ดี
ไม่ได้กินนมแม่
ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบตามกำหนด
อยู่ในสภาพที่แออัด และการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม ไม่ดี
เด็กที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรือพ่อแม่สูบบุหรี่
มีควันไฟในบ้าน
เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีเด็กมากๆ
การป้องกัน
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่อยู่ในที่ แออัด และพักผ่อนให้เพียงพอ
ควรนำเด็กไปรับวัคซีนป้องกันโรคหัด คอตีบ บาดทะยัก โปลิโอ วัณโรค ให้ครบตามกำหนดนัดของแพทย์
รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ โดยเฉาพะ เมื่อมีอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น เย็นจัด ชื้นจัด ต้องให้เด็กได้รับความอบอุ่น พอควรถ้าเปียกฝนต้องเช็ดให้แห้ง
ผู้ใหญ่ไม่ควรสูบบุหรี่เพราะควันบุหรี่เป็นอันตรายต่อเด็ก
พอแม่ควรรู้อาการบ่งชี้ว่า เมื่อใดต้องพบแพทย์
อย่าคลุกคลีกับคนที่เป็นหวัดหรือปอดบวม
* เป็นไข้หวัด มีไข้สูง (เกิน 3 วัน) หรือมีไข้ไอมาก (เกิน 7 วัน) ควรไปพบแพทย์

การดูแล

          สิ่งสำคัญ ในการดูแลลูกน้อยที่ป่วยเป็นโรคปอดบวม คือการปฏิบัติตามคำสั่งของคุณหมออย่างเคร่งครัด
เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกลับมาอีกครั้ง ทั้งนี้ โรคปอดบวมสามารถป้องกันได้ในเบื้องต้นโดย
 สร้างภูมิคุ้มกันโรคต่างๆ โดยให้ลูกกินนมแม่
  
เมื่อไม่สบายเป็นไข้ ควรเช็ดตัว และให้ลูกดื่มน้ำให้มาก และให้ยาตามอาการ
  
ดูแลเรื่องสุขอนามัย ความสะอาด ความอบอุ่น
  
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย เช่น ช้อน แก้วน้ำ ของเล่น
  
การรับวัคซีนป้องกันโรค เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ทั้งนี้ควรปรึกษาหรือขอคำแนะนำจากคุณหมอก่อน


 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | cheap international calls